ท่านที่ยังไม่ได้สมัครสมาชิก สมัครสมาชิกก่อนสมัครสอบนะคะ คลิกที่นี่สมัครสมาชิก
ข้อ 1. คุณสมบัติของผู้สอบ
1.1 เป็นสมาชิกสามัญตลอดชีพของสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
1.2 การศึกษาและประสบการณ์ สำเร็จการศึกษาระดับใดระดับหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1.2.1 ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
– สาขาอาหารและโภชนาการ
– มีประสบการณ์การทำงานด้านโภชนาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 6 ปี
1.2.2 ปริญญาตรี
1.2.2.1 สาขาอาหารและโภชนาการ และได้รับปริญญาใดปริญญาหนึ่งดังต่อไปนี้
ก.วิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.) โภชนาการและการกำหนดอาหาร, โภชนวิทยาและการกำหนดอาหาร, โภชนศาสตร์ และการกำหนดอาหาร, การกำหนดอาหารและโภชนศาสตร์, การกำหนดอาหารและโภชนบำบัด, โภชนาการและโภชนบำบัด, โภชนบำบัดและการกำหนดอาหาร, อาหารโภชนาการและการกำหนดอาหาร, โภชนศาสตร์อาหารและโภชนาการ, โภชนศาสตร์การกำหนดอาหารและอาหารปลอดภัย, โภชนศาสตร์, ชีวเวชศาสตร์ (โภชนบำบัด)
ข.คหกรรมศาสตร์ (คศ.บ.) สาขาคหกรรมศาสตร์ อาหารและโภชนาการ
และมีประสบการณ์ข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
– ผ่านการฝึกงานด้านอาหาร/โภชนาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 900 ชั่วโมง หรือ
– ผ่านการฝึกงานด้านอาหาร/โภชนาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 250 ชั่วโมง และต้องมีประสบการณ์การทำงานทางด้านโภชนาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 ปี หรือ
– หากไม่ผ่านการฝึกงานทางด้านโภชนาการในโรงพยาบาล ต้องมีประสบการณ์การทำงานทางด้านโภชนาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 2 ปี
1.2.2.2 สาขาที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการด้านอื่น ๆ
– ต้องมีประสบการณ์การทำงานทางด้านโภชนาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 3 ปี
1.2.2.3 สาขาที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ
– ต้องมีประสบการณ์การทำงานทางด้านโภชนาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 4 ปี
1.2.3 ปริญญาโท / ปริญญาเอก
1.2.3.1 สาขาอาหารและโภชนาการ และได้รับปริญญาใดปริญญาหนึ่งดังต่อไปนี้
วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วท.ม.) / วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (วท.ด.) โภชนาการและการกำหนดอาหาร, โภชนวิทยาและการกำหนดอาหาร, โภชนศาสตร์และการกำหนดอาหาร, การกำหนดอาหารและโภชนศาสตร์, โภชนาการและโภชนบำบัด, โภชนบำบัดและการกำหนดอาหาร, อาหารโภชนาการและการกำหนดอาหาร, โภชนศาสตร์อาหารและโภชนาการ, โภชนศาสตร์การกำหนดอาหารและอาหารปลอดภัย, โภชนศาสตร์, ชีวเวชศาสตร์ (โภชนบำบัด)
และมีประสบการณ์ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
– ผ่านการฝึกงานด้านอาหาร/โภชนาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 900 ชั่วโมง หรือ
– ผ่านการฝึกงานด้านอาหาร/โภชนาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 250 ชั่วโมง และต้องมีประสบการณ์การทำงานทางด้านโภชนาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 ปี หรือ
– หากไม่ผ่านการฝึกงานทางด้านโภชนาการในโรงพยาบาล ต้องมีประสบการณ์การทำงานทางด้านโภชนาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 2 ปี
1.2.3.2 สาขาที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการด้านอื่น ๆ
– ต้องมีประสบการณ์การทำงานทางด้านโภชนาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 3 ปี
1.2.3.3 สาขาที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ
– ต้องมีประสบการณ์การทำงานทางด้านโภชนาการในโรงพยาบาลอย่างน้อย 4 ปี
ข้อ 2. เอกสารและหลักฐานในการสมัครสอบ
2.1 แบบขอสมัครสอบเพื่อการรับรองเป็นนักกำหนดอาหาร (CDT) (ช่องที่ให้กรอกสมาชิกสามัญเลขที่ ผู้ที่สมัครสมาชิกใหม่ ให้กรอก สมาชิกใหม่ และแนบสำเนาโอนเงินค่าสมัครสมาชิกฯ แทนสำเนาบัตรสมาชิกฯ ค่ะ)
2.2 รูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1 นิ้ว จำนวน 3 รูป
2.3 สำเนาวุฒิการศึกษา (ประกาศนียบัตร และ Transcript หรือ ปริญญาบัตร และ Transcript) ลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
2.4 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง)
2.5 สำเนาบัตรสมาชิกสามัญตลอดชีพ (ลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง)
2.6 ในกรณีชื่อ/สกุล ไม่ตรงกับใบแสดงวุฒิการศึกษา ต้องแนบหลักฐานการเปลี่ยนแปลงพร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้องเช่น ทะเบียนสมรส/หย่า หลักฐานการแก้ไขชื่อ/สกุล
2.7 ใบรับรองการปฏิบัติงานด้านโภชนาการ/โภชนบำบัดในโรงพยาบาลจากผู้อำนวยการหรือผู้ได้รับมอบอำนาจจากผู้อำนวยการเท่านั้น และประทับตราโรงพยาบาล
2.8 สำหรับการฝึกงานด้านอาหาร/โภชนาการ ในโรงพยาบาล 900 / 250 ชั่วโมง จะต้องมีใบรับรองการฝึกงานจากมหาวิทยาลัย แนบมาพร้อมกันด้วย
2.9 ค่าธรรมเนียมการสอบ
สอบครั้งแรก จำนวนเงิน 1,000 บาท
สอบซ้ำ จำนวนเงิน 500 บาท
สำหรับค่าธรรมเนียม โอนเงินชำระในนาม “ สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย “ เลขที่บัญชี 404-481991-0 ธนาคารไทยพาณิชย์
(สามารถโอนเงินผ่าน App Mobile banking ได้)
ข้อ 3. วิชา คะแนนที่สอบ และเกณฑ์การตัดสิน
3.1 วิชาและคะแนนที่สอบ สำหรับการรับรองเป็นนักกำหนดอาหาร (CDT)
3.1.1 องค์ความรู้ด้านโภชนบำบัดทางการแพทย์ (Medical Nutrition Therapy) และการให้คำปรึกษา (Diet Counseling) ร้อยละ 30
3.1.2 องค์ความรู้ด้านโภชนาการพื้นฐาน (Basic Nutrition) ร้อยละ 25
3.1.3 องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการงานโภชนาการ (Food Service Management) ร้อยละ 30
3.1.4 องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร (Food Sciences) ร้อยละ 10
3.1.5 องค์ความรู้ด้านการวิจัย (Nutrition and Dietetics Research) ร้อยละ 5
3.2 เกณฑ์การตัดสิน ต้องผ่านการสอบ โดยได้คะแนนร้อยละ 60 ของคะแนนรวมทั้ง 5 องค์ความรู้
ข้อ 4. วิธีการสอบ
ใช้วิธีสอบข้อเขียนแบบปรนัย (Multiple choices)
ข้อ 5. การยื่นเอกสารและหลักฐานในการสมัครสอบ
ยื่นเอกสารและหลักฐานทั้งหมด ภายในวันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2565 ยื่นเอกสารด้วยตนเอง หรือกรอกข้อมูลและแนบเอกสารทั้งหมดผ่าน Link: https://forms.gle/uBKHxb4Q3BMJ1nbS6
หรือ ส่งหลักฐานทั้งหมดทางไปรษณีย์ มาที่
สมาคมนักกาหนดอาหารแห่งประเทศไทย
1845/11 ซอยบริรักษ์ (ซอยส่วนบุคคล) ถนนพหลโยธิน
แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 080-338-7443, 02-939-7782
ข้อ 6. กำหนดการสอบประจำปี พ.ศ. 2565
6.1 วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 13.00 – 16.00 น.
6.2 สถานที่สอบ ณ ห้องประชุมพิบูลสงคราม ชั้น 12 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา โรงพยาบาลราชวิถี
ข้อ 7. ประกาศผลสอบ
7.1 ประกาศผลสอบภายใน 60 วัน หลังจากวันสอบ
7.2 แจ้งผลสอบทางไปรษณีย์เป็นรายบุคคล
ดาวน์โหลดรายละเอียดเอกสารการสอบเพิ่มเติม
CDT 1 ประกาศสอบ CDT ปี 2565
CDT 2 แบบขอสมัครสอบ CDT ปี 2565
CDT 3 แบบใบรับรองการปฏิบัติงาน CDT ปี 2565